fbpx
Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin

สารบัญ

Pronunciation หรือ การออกเสียงคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ คือ การออกเสียงคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ ซึ่งจะไม่ออกเสียงตามตัวสะกด 100% ดังนั้นเราจึงต้องฝึกฟังเจ้าของภาษาออกเสียงที่ถูกต้อง หรือฝึกอ่านคำอ่านออกเสียงในพจนานุกรม เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงการออกเสียงของเราและลงน้ำหนักเสียงได้อย่างถูกต้อง

Pronunciation Rules

คำศัพท์ในอังกฤษไม่ใช่ทุกพยางค์จะออกเสียงน้ำหนักเท่ากัน เรามาดูกฎใหญ่ๆ ในการออกเสียงกันดูนะคะ

คำที่ไม่ได้รับการออกเสียงลงหนัก

จะต้องกร่อนเสียงลงเหลือเป็นเสียง เออะ หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า schwa เช่น ในคำว่า

  • diary = ได้ เออะ รี่
  • photograph = โฟ้ เท่อะ กราฟ
  • sugar = ชู้ เกอะ
  • family = แฟ้ เมอะ ลิ่
  • pencil = เพ้น เซิ่ล
  • was = เวิส
  • elephant = เอ้ะ เลอะ เฟิ่น
  • salad = แซ้ เลิ่ด
  • open = โอ เปิ่น
  • promise = พร้อ เมิส

ดังนั้น พวกเราจะต้องฝึกออกเสียงพยางค์ที่ไม่ได้รับการลงเสียงหนักให้เป็นเสียง เออะ แทนการอ่านตามตัวสะกดที่เห็น ครูจิ๊บเข้าใจว่าอาจจะยาก เนื่องจากเราเคยออกเสียงมาตามตัวสะกด แต่ถ้าเราฝึกบ่อยครั้ง เราก็จะสามารถออกเสียงได้ตรงอย่างที่เจ้าของภาษาทำได้ค่ะ

การลงน้ำหนักเสียง

ในภาษาอังกฤษจะมี 1 หรือ 2 พยางค์ที่ได้รับการลงเสียงหนักในแต่ละคำศัพท์ ซึ่งจะต่างจากภาษาไทยที่เราลงน้ำหนักเสียงทุกพยางค์เท่ากัน ดังนั้น เราจึงจะต้องดูว่า แต่ละคำ เราจะต้องลงเสียงหนักที่พยางค์ไหน ครูจิ๊บจะใช้ตัวหนาในการแสดงว่าพยางค์ไหนต้องลงเสียงหนักนะคะ เช่น

  • dedicate = เด้ะ เดอะ เคท
  • certificate = เซอะ ทิ้ เฟอะ เคท
  • embrace = เอิม เบรส
  • acquisition = เอิก เควอะ ซิ้ เชิ่น
  • forty = ฟ้อ ที่
  • fourteen = โฟ ทีน

เราลองมาดูกลุ่มคำศัพท์ที่ลงน้ำหนักเสียงที่พยางค์แรกกันค่ะ

  • vegetable = เว้จ เทอะ เบิ่ล
  • product = พร้อ ดักท
  • finger = ฟิ้ง เออร
  • basket = แบ้ส เก็ท

กลุ่มคำต่อไปนี้จะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ 2

  • photographer = เฟอะ ท้อ กระ เฟ่อร
  • production = เพรอะ ดั๊ก เชิ่น
  • technique = เทค นี้ก
  • hyperbole = ไฮ เพ้อะ เบอะ ลี่
  • magnificent = เมิก นิ้ ฟิ เซิ่นท
  • committee = เคอะ มิ้ท ที่

กลุ่มที่ 3 ก็คือจะมีการลงน้ำหนักเสียงที่พยางค์ที่ 3

  • photographic = เฟอะ เทอะ กร้า ฟิก
  • politician = เพอะ เลอะ ทิ้ เชิ่น
  • understand = อัน เดอะ สแต้นด
  • overlook = เออะ เวอร ลุ้ก
  • outperform = เอ้า เพอะ ฟอรม
  • university = เยอะ เนอะ เว้อ ซิ ที่
  • information = อิน เฟอะ เม้ เชิ่น

และกลุ่มสุดท้ายคือ ลงน้ำหนักเสียงที่พยางค์สุดท้าย

  • hotel = เฮอะ เทล
  • extreme = อิกซ ตรีม
  • concise = เคิน ไซ้ส

คำนามและคำกริยา

นอกจากนี้ยังมีคำที่สะกดเหมือนกันซึ่งเป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา แต่จะมีการลงน้ำหนักเสียงที่พยางค์ของคำแตกต่างกัน ลองดูในตารางเพื่อเปรียบเทียบกันดูนะคะ

โดยที่คำนามจะลงน้ำหนักเสียงที่พยางค์แรก ส่วนในคำกริยาเราจะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่สองของคำ

คำที่ลงท้ายด้วย -ion, -tion, -sion

จะลงเสียงหนักที่พยางค์ก่อน -ion, -tion, -sion เช่น

  • dissatisfaction = ดิส แซส ทิส แฟ้ก เชิ่น
  • solution = เซอะ ลู้ เชิ่น
  • attraction = เอิท แทร้ก เชิ่น
  • experimentation = เอิกซ เปอะ เรอะ เมิน เท้ เชิ่น
  • hospitalization = ฮอส ปิ เทอะ ไล เซ้ เชิ่น

คำที่คนไทยออกเสียงผิดบ่อยๆ

  • slave = สเลฟ
  • salmon = แซ้ เมิ่น
  • yoga = โย้ เกอะ
  • science = ไซ้ เอินซ
  • label = เล้ เบิล
  • onion = อั๊น เยิน
  • iron = ไอ้ เอิน
  • model = ม้อ เดิล
  • almond = แอ้ เมิ่นด
  • chocolate = ช้อก แคล็ท
  • Wednesday = เว้นซ เดย
  • receipt = ริ ซี้ท
  • debt = เด็ท
  • climb = ไคลม
  • dessert = ดิ เซิรท
  • desert = เด๊ท เซิท
  • patient = เพ้ เชิ่นท

ห้ามละเสียงในภาษาอังกฤษ

เราต้องออกเสียงทุกคำให้ครบถ้วนโดยเฉพาะเสียงตัว [s]

  • because
  • notice
  • minus
  • discuss
  • ice

ตัว [t], [k], [ch] และ [p] หลังเสียงตัว [s] หรือ [x] จะออกเสียงเป็น [ต], [ก] และ [ป]

  • student = สตู้ เดินท
  • school = สกูล
  • schedule = สเก้ท จุล
  • skate = สเกท
  • spam = สแปม
  • expense = อิกว เป๊นซ
  • excuse = อิกซ กิ้วซ
  • stupid = สติ้ว ปิด
  • skip = สกิป

เมื่อคำกริยาในรูปอดีตของเราเติม -ed

การออกเสียงจะเป็นเสียง [ท], [ด] หรือ [อิด]

ออกเสียง [t] หรือ [ท]

  • popped
  • dropped
  • mocked
  • walked
  • stopped

ออกเสียง [d] หรือ [ด]

  • dodged
  • opened
  • banned
  • climbed

ออกเสียง [id] หรือ [อิด] จะใช้กับคำกริยาที่ลงท้ายด้วยตัว t หรือตัว d เท่านั้น

  • visited = วิ ซิท ทิด
  • ended = เอ๊น ดิด
  • started = สต๊ารท ทิด
  • expected = อิกซ เป๊ก ทิด
  • invited = อิน ไว้ท ทิด

ตัวสะกดที่ไม่ออกเสียง

  • ghost = โกส
  • knight = ไนท
  • comb = โคม
  • answer = แอ้น เซ่อร
  • wrap = แรป
  • write = ไรท
  • hour = เอ้า เอ้อร
  • honest = อ้อน เนิส
  • debt = เด็ท
  • receipt = ริ ซีท
  • climb = ไคลม

ในภาษาอังกฤษ มีคำจำนวนมาก และไม่มีกฎตายตัวที่จะใช้ได้กับทุกคำ ดังนั้น เราจึงต้องฝึกใช้และออกเสียงคำต่างๆในภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง โดยที่พวกเราสามารถฟังการออกเสียงจากเจ้าของภาษาได้ ผ่านสื่อต่างๆ เช่นจาก YouTube หรือ Facebook

บทสรุปท้ายบทเรื่องการออกเสียงภาษาอังกฤษ

  1. พวกเราดูกฎของการออกเสียงของแต่ละคำ ว่ามีกฎอะไรบ้าง และมีตัวอักษรที่ไม่ออกเสียงหรือไม่
  2. เราต้องลงน้ำหนักเสียงที่คำให้ถูกต้อง
  3. คำศัพท์ในภาษาอังกฤษไม่ออกเสียงตามตัวสะกด
  4. การฝึกออกเสียงคำศัพท์ในภาษาอังกฤษบ่อยๆ จะทำให้เราออกเสียงได้อย่างถูกต้องเหมือนเจ้าของภาษา 
แนะนำสำหรับการเรียนรู้เพิ่มเติม

หากต้องการทำความเข้าใจเรื่องของ Pronunciation หรือ การออกเสียงคำศัพท์ในภาษาอังกฤษเพิ่มเติม ครูจิ๊บแนะนำให้พวกเราเข้าไปดูคลิปวีดีโอตามลิงก์ด้านล่างนี้

VDO Credits : Kids Academy – YouTube

บทความอื่น

สำหรับภาษาอังกฤษระดับปานปลาง CEFR A2

Past Simple Tense

Past Simple Tense หรือ ประโยคอดีตกาล เป็นโครงสร้างประโยคที่เราใช้เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีต ที่สิ้นสุดไปแล้ว ปกติการเขียนประโยคในรูปอดีตจะง่ายมาก เพราะพวกเรา สามารถเติม -ed ท้ายคำกริยาได้เลย

อ่านเพิ่มเติม »

Pronoun

Pronoun หรือในภาษาไทย คือ คำสรรพนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำนาม เราจะใช้คำสรรพนามเพื่อแทนคำนามที่ได้พูดถึงไปแล้ว หรือพูดถึงคน สัตว์ สิ่งของ โดยแบ่งตามลำดับของผู้พูด บุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3

อ่านเพิ่มเติม »

Preposition

Preposition หรือคำบุพบทในภาษาไทย คือ คำที่มักจะอยู่ข้างหน้า คำนาม หรือ คำบุพบท เพื่อเชื่อมคำเหล่านี้กับคำอื่น ๆ ในประโยค สามารถใช้บอกเวลา ตำแหน่ง หรือ วิธีการก็ได้ ดังนั้นเราต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง

อ่านเพิ่มเติม »

Relative Pronoun

Relative Pronoun หรือ ประพันธสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่เอาไว้ใช้ขยายประโยคให้ประธานหรือกรรมในประโยคยาวขึ้น และมีรายละเอียดมากขึ้น โดยที่เราจะใช้นำหน้าส่วนขยายที่เราเรียกว่า relative clause

อ่านเพิ่มเติม »

Everyday Conversation

Everyday Conversation ในแต่ละวันเราจะได้มีโอกาสสื่อสารภาษาอังกฤษจากหลากหลายสถานการณ์ รูปประโยคที่ใช้ในสถานการณ์ประจำวันจึงมีความสำคัญอย่างมาก เราควรใช้ให้เหมาะสมกับบริบทที่แตกต่างกัน

อ่านเพิ่มเติม »

Present Simple Tense

Present Simple Tense หรือ ประโยคปัจจุบันกาล มีหลักการใช้หลายแบบ เช่น เหตุการณ์หรือข้อมูลที่เป็นความจริง การกระทำที่ทำบ่อย ๆ จนเป็นนิสัย และเหตุการณ์ในปัจจุบัน มีวิธีการสร้างประโยคหลากหลายรูปแบบ

อ่านเพิ่มเติม »

Compound Sentence

Compound Sentence หรือ ประโยคความรวม คือ การนำประโยคความเดียวมากกว่า 2 ประโยคขึ้นไปมาเชื่อมเข้าด้วยกัน โดยใช้คำสันธาน หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่าคำเชื่อมประโยค ซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม »

Sentence Structure

Sentence Structure หรือ โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษ แบบพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ประธาน คำกริยา และ/หรือ กรรม จะมีความแตกต่างกับโครงสร้างประโยคของไทยหรือไม่ หาคำตอบได้ในบทความนี้

อ่านเพิ่มเติม »

Future Simple Tense

Future Simple Tense หรือ ประโยคอนาคตกาล มีหลักการใช้หลายแบบ ไว้ใช้พูดถึงเหตุการณ์ในอนาคต, การคาดเดาสถานการณ์ในอนาคต, ให้คำสัญญา รวมถึงการให้ข้อเสนอว่าจะทำอะไรในขณะนั้น

อ่านเพิ่มเติม »